แนวปฏิบัติในการขอกู้ยืมเงิน กองทุนเงินให้ยืมเพื่อการศึกษา
1.นักเรียน นักศึกษาที่มีสิทธิ์กู้ยืมได้ ต้องเป็นผู้ที่ศึกษาในระดับ
1.1 มัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้งสายสามัญและสายอาชีพ
1.2 อุดมศึกษา ไม่สูงกว่าปริญญาตรี
2.คุณสมบัติของนักเรียน นักศึกษาผู้มีสิทธิกู้ยืม
2.1รายได้ของบิดามารดาและนักเรียนหรือนักศึกษาผู้ขอกู้ยืมรวมไม่เกิน 200,000 บาท/ปี หากผู้ใช้อำนาจปกครองมิใช่บิดา มารดาให้ถือรายได้ของผู้ปกครองแทนบิดา มารดา ในกรณีมีการรับรองรายได้ผู้มีสิทธิ์รับรองรายได้ ครอบครัวผู้ขอกู้ยืมเงิน คือ
- ข้าราชการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ 5 ขึ้นไป หรือตำแหน่งเทียบเท่า หรือ
- ผู้บริหารสถาบันการศึกษาหรือผู้ปกครองท้องถิ่นระดับผู้ใหญ่บ้านขึ้นไป
2.2 เป็นผู้มีสัญชาติไทย
2.3 ศึกษาที่สถาบันในประเทศไทย
2.4 ไม่เคยเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาใดๆ
2.5 ไม่เคยเป็นผู้ทำงานประจำระหว่างศึกษา
2.6 ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
2.7 ในขณะกู้ยืมเงิน ต้องไม่เป็นผู้ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดอาญากรณีนักศึกษาผู้กู้มีคู่สมรสรายได้ของครอบครัว หมายถึง รายได้ของนักศึกษาผู้กู้ยืมและคู่สมรสด้วยกัน
2.8 เป็นผู้มีการเรียนดี หรือเป็นผู้ที่ผ่านเกณฑ์ตามระเบียบว่าด้วยการวัดผลและการประเมินผลการศึกษา
2.9 เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบหรือการประกาศสอบคดีบุคคลเข้าศึกษาในโรงเรียนสถานศึกษาหรือสถานการศึกษาซึ่งอยู่ในสังกัด ควบคุมหรือกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการหรือส่วนราชการอื่น รัฐวิสาหกิจยกเว้นทบวงมหาวิทยาลัย
3. ค่าใช้จ่ายที่พึงกู้ได้นักเรียน นักศึกษาผู้ขอกู้ จะกู้เงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาได้เพราะค่าใช้จ่าย ดังต่อปนี้
3.1ค่าบำรุงการศึกษา ค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียมการศึกษา และค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่องกับการศึกษาจ่ายตามภาคหรือปีการศึกษา ตามที่สถาบันการศึกษาเรียกเก็บ โดยจ่ายเข้าบัญชีของสถาบันการศึกษานั้น
3.2 ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา เช่น หนังสือ ตำรา อุปกรณ์ประกอบการเรียน นอกเหนือจาก 3.1 ให้จ่าย เข้าบัญชี ของนักเรียน นักศึกษาผู้กู้ยืมเงิน
3.3 ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการครองชีพระหว่างการเรียน
3.3.1 ค่าที่พักของสถาบันการศึกษา ซึ่งจะจ่ายเข้าบัญชีของสถาบันการศึกษานั้น
3.3.2 ค่าใช้จ่ายนอกเหนือจาก 3.3.1 ซึ่งจะจ่ายบัญชีของนักเรียน นักศึกษาผู้กู้ยืมเงิน
4. ระยะเวลาที่กู้
4.1 ผู้กู้รายเก่า (ไม่เปลี่ยนระดับการศึกษาและเปลี่ยนสถานศึกษา)
- ยืนยันการลงทะเบียนผ่านระบบ e-Studentloan ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2559
- รับเงินค่าครองชีพภายใน 30 วัน นับแต่วันเปิดภาคเรียน
4.2 ผู้กู้รายใหม่และผู้รายเก่า (ไม่เปลี่ยนระดับการศึกษาและไม่เปลี่ยนสถานศึกษา)
- ลงทะเบียนขอรหัสผ่าน ตั้งแต่เดื่อนมกราคม 2559
- รับเงินค่าครองชีพ ภายใน 45 วัน นับตั้งแต่วันเปิดภาคเรียน
5. ระยะเวลาที่ขอกู้
ผู้ขอกู้ กู้ได้ทุกปีตั้งแต่เริมเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทั้งสายสามัญและอาชีวะ) จนกระทั้งเรียนจบ ปริญญาตรีโดยต้องสัญญากู้ปีต่อปี
6. เอกสาร/หลักฐาน ประกอบการพิจารณาขอกู้
6.1 รูปภาพของผู้ยื่นของกู้ ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 1 รูป
6.2 สำเนาทะเบียนบ้าน
6.3 สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาบัตรประชาชนตัวผู้เสียภาษีของ
-ผู้ยื่นคำขอกู้ -บิดา/มารดา หรือผู้ปกครอง/ผู้อุปการะ -ผู้รับรองรายได้
6.4 หนังสือรับรองเงินเดือนของบิดา/มารดา หรือผู้ปกครอง/ผู้อุปการะ หรือ
6.5 หนังสือรับรองรายได้และฐานะของบิดา/มารดา หรือผู้ปกครอง/ผู้อุปการะ
6.6 หนังสือแสดงความคิดเห็นของอาจารย์แนะแนว หรือทำหน้าที่ปรึกษา
6.7 แผนผังที่ตั้งอยู่อาศัยของบิดา/มารดาหรือผู้ปกครอง/ผู้อุปการะ
6.8 ใบแสดงผลการศึกษา ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
หมายเหตุ ถ้ามีหลักฐานตาม6.4แล้วไม่ต้องมีหลักฐานตาม6.5
7.วิธีการขอกู้
-นักศึกษาเข้า Internet www.studentioan.or.th
8. ห้ามปิดบัญชีเงินฝาก
บัญชีเงินฝากกองทุนฯจะปิดได้ต่อเมื่อผู้กู้ชำระหนี้หมดยกเว้นกรณีที่เปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์กองทุนฯเล่มใหม่แล้ว
9.เอกสารที่ต้องการใช้ในการแนบสัญญากู้ฯ ส่งธนาคาร
ทุนครั้งที่ทำสัญญาฯ ต้องแนบสำเนาสมุดคู่ฝากเงินออมทรัพย์ที่เปิดกับธนาคารกรุงไทยฯ
สำเนาทะเบียนบ้านที่มีหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้กู้ยืมเงิน
10. สิ่งที่ต้องปฏิบัติของผู้กู้
10.1 เมื่อยื่นกู้ต้องเขียนสัญญากู้ให้ครบถ้วน หากไม่เข้าใจต้องปรึกษาครูอาจารย์ที่รับผิดชอบการให้กู้ หรือเจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงไทยฯ สาขาใกล้บ้าน
10.2 เก็บเอกสารสัญญากู้คู่ฉบับไว้ที่ตนเองทุกฉบับจนกว่าจะใช้คืนเงินกู้ให้เรียบร้อย
10.3 เมื่อได้รับอนุมัติการให้กู้แล้ว ธนาคารฯ จะนำเงินเข้าบัญชีเป็นรายเดือน ทุกวันเกิดของผู้กู้ยืม
10.4 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ ย้ายสถานศึกษา หรือ จบการศึกษา จะต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ย้ายสถานศึกษา หรือ จบการศึกษาต่อธนาคารฯ ภายใน 15 วัน วันที่เปลี่ยนแปลงหรือจบการศึกษาโดยติดต่อขอแบบรายงานได้ที่สถานศึกษา